วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

กว่าทศวรรษของ ICT เพื่อการศึกษา : ถึงเวลาวาระแห่งชาติ?

รศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง
ผอ.สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2551)

เป็นเวลา 10 กว่าปีแล้ว ที่ประเทศไทยได้เริ่มเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาทางด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศ รัฐบาลในขณะนั้นได้กำหนดให้ปี พ.ศ.2538 เป็นปีแห่งการพัฒนาทางด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ โดยเริ่มมีการวางแผนและเริ่มดำเนินการในการพัฒนา ICT
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ICT เพื่อการศึกษา อย่างไรก็ดี วิกฤตเศรษฐกิจในช่วงต่อมาส่งผลให้การพัฒนา
ICT เพื่อการศึกษาเกิดการชะงักตัว เนื่องมาจากงบประมาณที่จำกัด เรื่อยมา จนปี พ.ศ.2545 การ
พัฒนา ICT เพื่อการศึกษาเริ่มกลับมาเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายอีกครั้ง นับจากวัน
นั้นเป็นต้นมา หลายหน่วยงานด้านการศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทยได้มีการลงทุนทั้ง
ในแง่ของงบประมาณ เวลา และความพยายามในการพัฒนา ICT เพื่อการศึกษา ทั้งในระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษา อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ที่การพัฒนาดังกล่าวยังคงเป็นไป
ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ต่างคนต่างพัฒนา ตามบริบทและความพร้อมขององค์กรแต่ละแห่ง ขาด
ซึ่งทิศทางที่ชัดเจนสำหรับการวางแผนระยะยาว ซึ่งส่งผลให้เกิดการลงทุนที่ซ้ำซ้อนเสียเปล่า การ
พัฒนา ICT ในสถาบันการศึกษาในลักษณะดังกล่าว จึงนอกจากจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่คุ้มค่า คุ้ม
ทุนแล้ว ยังส่งผลให้การยอมรับของครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ในการนำ ICT มาใช้ให้เกิด
ประโยชน์อย่างจริงจังเกิดขึ้นอย่างจำกัดเพียงในวงแคบๆ เท่านั้น อันที่จริง การที่ ICT จะสามารถ
เปลี่ยนผ่านจากระยะเริ่มต้น (initiation phase) ยอมรับนวัตกรรม ไปสู่ระยะแห่งการจุดไฟ และระยะ
แห่งการเติบโต (firelight phase and growth phase) ได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่า
จะเป็น นโยบายระดับภูมิภาค นโยบายรัฐ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ฯลฯ
แต่อย่างไรก็ดี ฝ่ายที่มีความสำคัญมากที่สุดฝ่ายหนึ่งในขณะนี้ อาจได้แก่ ผู้ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการ
กำหนดนโยบายและทิศทางของการพัฒนา ICT เพื่อการศึกษาของประเทศไทย รวมทั้งการ
ควบคุมดูแลให้การบริหารจัดการเป็นไปตามแผนที่ได้กำหนดไว้
บทความนี้จึงเขียนขึ้นเพื่อนำเสนอตัวอย่างการปฏิบัติที่ดีในการกำหนดนโยบายและทิศ
ทางการพัฒนา ICT เพื่อการศึกษา โดยในบทความนี้ ผู้เขียนขอนำเสนอตัวอย่างของการพัฒนา
e-Learning ของประเทศเกาหลีใต้ ประเทศที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำในด้านการพัฒนาการใช้
เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา (ICT in Education) ประเทศหนึ่งในปัจจุบัน ตัวอย่างของ
การวางแผน รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับการขับเคลื่อนแผนให้ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้มี
ส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการกำหนดนโยบายและทิศทางของการพัฒนา ICT เพื่อการศึกษาในบ้านเรา
ได้เข้าใจและนำแบบอย่างที่ดีไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติต่อไป
นโยบายการพัฒนา ICT เพื่อการศึกษา
• วาระแห่งชาติเกาหลีใต้
แม้ว่าประเทศเกาหลีใต้จะประสบกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับประเทศ
ไทย แต่ในขณะนี้คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ประเทศเกาหลีใต้ได้กลายเป็นประเทศอันดับต้นๆ ในเอเชีย
ที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดและเป็นที่จับตามองจากทั่วโลก การศึกษา นับได้ว่า
เป็นส่วนประกอบสำคัญประการหนึ่งของความสำเร็จในการพัฒนาดังกล่าว เกาหลีใต้ถือเป็นประเทศ
อันดับสอง รองจากประเทศฟินแลนด์เท่านั้น ที่มีการพัฒนาการใช  ICT เพื่อการศึกษาในลักษณะทั้ง
ระบบ (systemic) ไม่ว่าจะเป็นในระดับโรงเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา การ
พัฒนาดังกล่าวไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่อย่างใด หากเกิดจากการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจากแผน
ของการพัฒนาระยะยาว ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
ในระยะแรก (2540-2543) รัฐบาลเกาหลีใต้ได้พัฒนาแผนการพัฒนาไอซีทีเพื่อการศึกษาขึ้น ที่
มีชื่อว่า Comprehensive Plan for ICT in Education (CPIE) หนึ่งในนโยบายสำคัญที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมี
ความท้าทายมาก และถือได้ว่าเป็นเสาหลักของการพัฒนาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ การมุ่งสู่การเป็น
ประเทศที่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายมากที่สุดในโลก ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาสาธารณูปโภคที่
เกี่ยวข้อง การทำให้ทุกห้องเรียนมีคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ ในขณะเดียวกัน
มีการพัฒนาผู้สอนทุกคนให้ใช้ ICT และการริเริ่มโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์
ในระยะที่สอง (2544-2547) ได้เริ่มมุ่งเน้นทางด้านของการใช้ ICT ในหลักสูตรการเรียนการ
สอน มีการพัฒนาศูนย์การเรียนการสอน และห้องสมุด ทั้งในระดับรัฐ ท้องถิ่น และโรงเรียน ที่สำคัญ
มีโครงการในลักษณะที่เป็นการสร้างคลังของหลักการปฏิบัติที่ดี (best practices) สำหรับผู้สอนเพื่อ
การเผยแพร่และแบ่งปันสารสนเทศร่วมกัน ในขณะเดียวกันบริการพัฒนาผู้สอนทุกคนให้ใช้ ICT
ระยะที่สอง (ต่อเนื่องจากระยะที่หนึ่ง) นอกจากนี้ เกิดแผนการพัฒนาระดับชาติขึ้น ชื่อว่า แผนการลด
จำนวนการเรียนพิเศษหลังเรียนของนักเรียน ด้วยระบบออกอากาศทางการศึกษา หรือ Master plan
for reducing private tutoring with Educational Broadcasting System (EBS) ซึ่งถือเป็นแผนสำคัญใน
การทำให้เกิดการพัฒนา ICT เพื่อการศึกษาอย่างยั่งยืน
สำหรับในระยะที่สาม (2548-ปัจจุบัน) จุดมุ่งเน้นของแผนพัฒนา ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงอย่าง
เป็นระบบของการศึกษาในโรงเรียนและอุดมศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นผู้
กำหนดทิศทางการเรียนรู้ของตนเอง รวมถึงการมองไปสู่การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงขึ้น อันได้แก่ ulearning
(ubiquitous learning) นอกเหนือจาก e-learning ในการจัดการเรียนการสอน
นอกจากแผนพัฒนาที่ชัดเจน โดยมีการลงรายละเอียดไปถึงแผนปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม สิ่งสำคัญ
ได้แก่ การกำหนดถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) ไว้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น ผู้มีส่วนได้ส่วน
เสียของ Comprehensive Plan for ICT in Education (CPIE) ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการและ
ทรัพยากรบุคคล รวมทั้งกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสารสนเทศ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากร
โดยแผนดังกล่าวไม่ใช่ถือเป็นเพียงแผนการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาเท่านั้น แต่เป็นการ
เปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของชาติ ทั้งระบบด้วยไอที โดยมีการสร้างให้เกิดการยอมรับร่วมกันว่า
การลงทุนด้าน ICT รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในด้าน ICT เป็นหนึ่งทางเลือกที่ดี เป็นทิศทาง
ในการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ไปสู่สังคม/เศรษฐกิจบนฐานความรู้ของประเทศ นอกจากนี้ มีการ
ตกลงร่วมกันในการส่งเสริมการใช้ ICT เพื่อการศึกษา ไม่จำกัดเฉพาะรัฐบาล แต่รวมถึงบริษัท
หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ 3 แห่งของประเทศ ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก หนังสือพิมพ์ทั้ง 3 แห่ง
ได้ร่วมกันรณรงค์ในระดับประเทศในการส่งเสริมการใช้ ICT เพื่อการศึกษา มีการแบ่งความ
รับผิดชอบกันอย่างชัดเจน โดยแต่ละบริษัทเลือกรับผิดชอบการรณรงค์แต่ละระดับ (ประถมศึกษา
มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา) โดยการรณรงค์ใช้วิธีการในลักษณะเดียวกันกับการโฆษณา และที่สำคัญ
คือ การให้ประชาชนทุกคนมีความรู้ ความเข้า และตระหนักถึงความสำคัญของการมี การใช้ ICT เพื่อ
การศึกษาเรียนรู้ หลังจากการเข้าร่วมการพัฒนาฯของหนังสือพิมพ์แล้ว ค่ายโทรทัศน์ต่างๆ รวมทั้ง
องค์กรด้าน NGOs หลายแห่งได้เข้าร่วมในการส่งเสริมการพัฒนาดังกล่าว จึงเกิดภาพความร่วมมือ
สำคัญ 3 ฝ่าย อันได้แด่ 1) รัฐบาล 2) สื่อ NGOs พร้อมด้วย 3) หน่วยงานด้านการศึกษา ขึ้น จากนั้น
บริษัททางด้านไอทีต่างหันมาร่วมมือกันดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ ไปพร้อมๆ
กัน ทำให้การพัฒนาดังกล่าวประสบความสำเร็จตามแผนเป็นอย่างดี นอกจากนี้ ประเด็นที่สำคัญอีก
ประการ คือ สาเหตุของการพัฒนาที่ยั่งยืนมาจนถึงปัจจุบันสาเหตุหนึ่งได้แก่ แผนการพัฒนา ชื่อ
Master plan for reducing private tutoring with Educational Broadcasting System (EBS) นั่นเอง
เกาหลีใต้มีความคล้ายคลึงกับประเทศไทยในส่วนที่ ผู้ปกครองกลุ่มที่มีความพร้อมในเกาหลีใต้จะ
ยอมทุ่มเททุกสิ่งเพื่อการศึกษาของบุตรหลาน มีการส่งบุตรหลานไปเรียนพิเศษ โดยยอมเสียค่าใช้จ่าย
ที่สูง (มาก) รัฐบาลเกาหลีใต้จึงเกิดแนวคิดในการแก้ปัญหาการลงทุนทางด้านการศึกษาในลักษณะ
ดังกล่าวด้วย การพัฒนาแผน e-Learning สำหรับการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดย
มีการระดมครูอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในด้านการสอนในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา มาเปิดการ
สอนในระบบ EBS แทนการเปิดสอนติวเตอร์เอง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงการ
สอนของครูอาจารย์ดังกล่าวได้อย่างทั่วถึง ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ปกครองพอใจที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ในการจ่ายค่าติวเตอร์แล้วนั้น ยังเป็นการลดช่องว่างระหว่างการเข้าถึงการศึกษาระหว่างกลุ่มคนมี
ฐานะดี ที่สามารถเข้าถึงครูผู้สอนที่มีชื่อเสียง และกลุ่มที่ขาดแคลนและขาดโอกาสการเข้าถึงครูผู้สอน
ที่มีชื่อเสียงอีกด้วย สิ่งสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามได้ ของการนโยบายการพัฒนา ICT ของประเทศเกาหลี
ใต้ ได้แก่ ความชัดเจนในเรื่องบทบาทของ ICT ในแต่ละระยะของการพัฒนา เป็นที่ชัดเจนว่า ข้อ
ได้เปรียบหลักๆ ของ ICT ได้แก่ ความสามารถในการช่วยให้การสื่อสารของผู้คนในสังคมเป็นไป
อย่างไร้ข้อจำกัด รวมไปถึงการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศที่หลากหลายอย่างสะดวกสบาย ในแต่ละระยะ
ของการพัฒนาฯนั้น เกาหลีใต้มีการกำหนดบทบาทของ ICT ไว้อย่างชัดเจน เช่น ในระยะแรกของการ
พัฒนาฯนั้น ICT เองถือว่าเป็นเป้าหมายในตัวของมันเอง กล่าวคือ การมุ่งเน้นการพัฒนาจะอยู่ที่ ความ
ตระหนักร่วมกันถึงความสำคัญและข้อได้เปรียบของ ICT เพื่อการศึกษาจากความชัดเจนดังกล่าวทำ
ให้เกิดการยอมรับและความร่วมมือท่ามกลางทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดังที่ได้กล่าวมา
นอกจากนี้ สำหรับระยะที่สองนั้น มีการกำหนดบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไปของ ICT ไปสู่การ
เป็นวิธีการหนึ่งในการรวบรวมและเผยแพร่และแบ่งปันสารสนเทศร่วมกันของประเทศ รวมทั้งการ
สร้างคลังของหลักปฏิบัติที่ดีขึ้นเพื่อใช้ร่วมกัน ในระยะนี้ ครอบคลุมการส่งเสริมให้เกิดชุมชนการ
เรียนรู้ออนไลน์สำหรับครู ผู้สอน นักการศึกษา สำหรับบทบาทของ ICT ในแผนพัฒนาปัจจุบัน หรือ
ในระยะที่ 3 นั้น มีการกำหนดบทบาทสำคัญ ได้แก่ การมอง ICT เป็นเครื่องมือสนับสนุนให้เกิดการ
เรียนรู้ด้วยตนเองของคนในสังคมไม่จำกัดเฉพาะผู้เรียนเท่านั้น เน้นการสร้างเนื้อหา (คอนเทนต์) ด้วย
ตนเอง โดยในระยะนี้ นโยบายจากส่วนกลางจะเริ่มลดลง การพัฒนาส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นให้เกิดจาก
ชุมชนและท้องถิ่นเองเป็นหลัก
บทสรุป
จากที่ไดก้ ล่าวถึงนโบายในการพัฒนา ICT เพื่อการศึกษา กรณีศึกษาของเกาหลีใตนั้น
สามารถสรุปได้ว่า ความสำเร็จในการพัฒนานโยบายการพัฒนา ICT ของประเทศเกาหลีใต้ ขึ้นอยู่กับ
ความจริงจังในการบริหารจัดการของภาครัฐ โดยการถือเอาการพัฒนาดังกล่าวในเรื่องดังกล่าวเป็น
วาระแห่งชาติ มีผู้นำระดับสูงเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา
และพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีด้วย รวมทั้งรัฐมนตรี
กระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ต่างแข่งขันกันในการสร้างผลงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ICT ในด้าน
ต่างๆ ที่ตนเองรับผิดชอบ การดึงภาคเอกชน โดยเฉพาะสื่อมวลชน NGOs บริษัทไอทีต่างๆ เข้ามาเป็น
ส่วนหนึ่งของการพัฒนา รวมทั้งการไม่มองข้ามในเรื่องการส่งเสริมให้มีโครงการในลักษณะที่มี
ผลกระทบต่อความต้องการต่อชุมชนโดยภาพรวม เช่น การพัฒนา ICT เพื่อช่วยผู้ปกครองในด้าน
การศึกษาของบุตรหลาน รวมทั้งการส่งเสริมในเรื่องที่สำคัญมาก ได้แก่ การสร้างคลังความรู้ของการ
ปฏิบัติที่ดี และการพัฒนาวิชาชีพ/การอบรมครูผู้สอนไปพร้อมๆ ไปกับแผนการพัฒนา ตั้งแต่เริ่มต้น
สำหรับบ้านเรานั้น ผู้เขียนก็ได้แต่หวังว่า ผู้ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและ
ทิศทางของการพัฒนา ICT เพื่อการศึกษาของประเทศไทยท่านใหม่ คงจะมีความรู้ความสามารถ
รวมทั้งความจริงจังและจริงใจในการดำเนินการวางนโยบาย กำกับ และติดตามการวางแผน ด้านการ
พัฒนา ICT เพื่อการศึกษาของชาติ เพื่อให้เกิดทิศทางการพัฒนา ICT ในบ้านเราร่วมกันระหว่าง
หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน เกิดการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า คุ้มทุน และยั่งยืน บน
พื้นฐานของบริบท เศรษฐกิจ สังคม การเรียนรู้แบบไทยๆ ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้
ของผู้เรียน ครู และการเรียนการสอน เพื่อสร้างทรัพยากรบุคคลที่เข้มแข้งของประเทศ ซึ่งถือเป็น
เป้าหมายสำคัญของการพัฒนา ICT เพื่อการศึกษาในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น